Tuesday, June 10, 2014

ผู้จัดทำ

ระบบกล้ามเนื้อ รายวิชา พ30105 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ชั้น ม.6/8
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
1. นายชนภัทร วงศ์เจริญ  เลขที่ 10
2. นายกานต์ เวทย์วิหารธรรม   เลขที่ 13
3. นายจิรัฏฐ์ เนียมนัด  เลขที่ 15
4. นายโชคชัย ธารรักประเสริฐ  เลขที่ 16
5. นายตะวัน เชยอักษร   เลขที่ 18
6. นายเตชัส รัตนานุสนธิ์   เลขที่ 19

Monday, June 9, 2014

การทำงานของกล้ามเนื้อ


     เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle                         

มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน 

ไบเซพหรือ (Flexors) คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว »» แขนเหยียดออก 
ไบเซพหรือ (Flexors) หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว »» แขนงอเข้า 







แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ (Bicep) หรือ (Flexors) และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) หรือ (Extensors)

How Muscles Work - Youtube


 
อ้างอิง
  1. http://www.thaigoodview.com/node/32442 



ระบบกล้ามเนื้อ


Skeletal Muscle System

    ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากการเคลื่อนไหว ของกระดูกและข้อต่อแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของ เส้นโลหิต การบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และการทำงานของปอด เป็นต้น การเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้   เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่ากล้ามเนื้อจำเป็นต่อการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ โดยประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 500 มัด แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

ชนิดของกล้ามเนื้อ

1.  กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)

http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/science04/08/image/loadimg.jpg




http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/bc/Anatomy_and_physiology_of_animals_smooth_muscle_fibres.jpg


เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่อวัยวะภายในของร่างกาย เช่น หลอดอาหาร หลอดเลือด เป็นต้น เซลล์มีรูปร่างคล้ายกระสวย แต่ละเซลล์ มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ไม่มีลายตามขวาง ตรงรอยต่อของเยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนจะมีบริเวณถ่ายทอดคลื่นประสาทเรียกว่า อินเตอร์คอนเนกติง บริดจ์ (interconnecting bridge) เพื่อถ่ายทอดคลื่น ประสาทไปยังเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่นอกอำนาจจิตใจ   การหดตัวเกิดได้เองโดยมีเซลล์เริ่มต้นการทำงาน (pace maker cell point) และการหดตัวถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นกล้ามเนื้อชนิดนี้ปลายประสาทจึงไม่ได้ไปเลี้ยงทุกเซลล์ ยกเว้นกล้ามเนื้อเรียบในบางส่วนของร่างกายมีปลายประสาทไปเลี้ยงทุกเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อในลูกตา กล้ามเนื้อชนิดนี้เรียกว่า กล้ามเนื้อเรียบ  หลายหน่วย (multiunit smooth muscle) ส่วนกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดแรกที่กล่าวถึง ในตอนต้นเรียกว่า กล้ามเนื้อหน่วยเดียว (single unit smooth muscle)

2. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle)
      
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjWfKSl5kasdScx9rcOSQkj0aM2wE6-uBDVqFXs0K29CfIxCuJX9LAkRUNzWLRrYt7epL7P9gpVoFiZZKGjtW89UX4VZZKlqqlGKZlp1qh8l0b01czDnHpfKGQyjkbUDpkEfgWUvSvr0KQ/s1600/Skeletal+muscle+03a.jpg
 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjWfKSl5kasdScx9rcOSQkj0aM2wE6-uBDVqFXs0K29CfIxCuJX9LAkRUNzWLRrYt7epL7P9gpVoFiZZKGjtW89UX4VZZKlqqlGKZlp1qh8l0b01czDnHpfKGQyjkbUDpkEfgWUvSvr0KQ/s1600/Skeletal+muscle+03a.jpg



http://humandiagrams.com/wp-content/uploads/Microscopic-anatomy-of-skeletal-muscle.jpg 

     เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่กับกระดูก และมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาวจึงเรียกว่า "ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber)" ความยาวของใยกล้ามเนื้อจะเท่ากับมัดกล้ามเนื้อที่ใยกล้ามเนื้อนั้นเป็นองค์ประกอบอยู่ ใยกล้ามเนื้อมีลายตามขวาง และมีเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า ซาร์โคเลมมา (sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า  เอนโดไมเซียม (endomysium) ใยของกล้ามเนื้อลายมีนิวเคลียสหลายอันอยู่ด้านข้างของเซลล์ เรียงตัวกันเป็นระยะตลอดแนวความยาวของเซลล์ แต่ละเซลล์มีปลายประสาทมาเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัว ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า ไมโอไฟบริล (myofibril) แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา (thick filament) และชนิดบาง(thin filament) ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม (perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้รวมกันเป็นมัดใหญ่และ มีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม (epimysium)หุ้มอยู่ การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอำนาจจิตใจจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อโวลันทารี (voluntary muscle)

  3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)
 


           เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจพบที่หัวใจเพียงแห่งเดียว กล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์เป็นเส้นใยยาว       มีลายตามขวาง เซลล์เรียงตัวหลายทิศทาง และเซลล์มีแขนงเชื่อมเซลล์อื่นเรียกว่า อินเตอร์คาเลทเตท ดิสค์(intercalated disc) มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์เป็นรูปไข่ เซลล์บางกลุ่มเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นเซลล์นำ   คลื่นประสาท (special conducting system) ซึ่งได้แก่ เอ-วี บันเดิล (A-V bundle) และเส้นใยเพอร์คินเจ (perkinje fiber) การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกอำนาจจิตใจ และทำงานได้เอง
 

THREE TYPES OF MUSCLES - YOUTUBE 
 
 
อ้างอิง